ทำไม..? คนอีสานจึงกินหนอน

                     จากการสังเกตคนในท้องถิ่นและคนในภาคอีสาน  โดยส่วนมากว่า  ทำไมคนอีสานถึงแข็งแรง  เราได้ค้น พบว่าผู้คนในภาคอีสาน  กินอาหารที่แตกต่างจากภาคอื่น  แม้อาหารชนิดนั้นจะไม่น่ารับประทานเท่าไหร่  แต่ในอาหารเหล่านั้นก็มีประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหารไม่น้อยกว่าอาหารในภูมิภาคอื่น  เช่น  ดักแด้ไหม  ซึ่งในการดำรงชีวิตของตัวไหมนั้นหนอนไหมจะมีการเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ  จนกลายเป็นดักแด้   เส้นใยที่หุ้มตัวดักแด้นั้นชาวอีสานจะสาวเอาเส้นใยไหม  ออกมาเพื่อที่จะนำเอาเส้นใยไหมตัวนั้นมาทำเครื่องนุ่งห่ม  สิ่งที่เหลือจากการสาวไหม คือ ตัวดักแด้ที่อยู่ในรังไหมและชาวบ้านจะนำตัวดักแด้ไปประกอบอาหารรับประทานกัน เช่น ดักแด้ทอด  น้ำพริกดักแด้  หรือเพียงแค่เอาเกลือโรยเล็กน้อยก็รับประทานได้อย่างเอร็ดอร่อย  จากการศึกษาข้อมูลพบว่า ในตัวดักแด้ไหมจะมีโปรตีนชนิดหนึ่งชื่อว่า เลซิติน   ซึ่งมีประโยชน์ช่วยบำรุงและพัฒนาสมองได้ 

        พวกเราจึงสนใจทำการศึกษาทดลอง  ทดสอบหาสารอาหารในตัวดักแด้ไหม  โดยใช้ความรู้ในเรื่องการทดสอบสารอาหารประเภทต่างๆจากที่ได้เรียนมาประยุกต์ใช้ ในการทดสอบหารสารอาหารในตัวดักแด้ไหมและได้ผลการทดลองดังนี้

    

 

ตารางแสดงผลการทดลอง

ผลการทดสอบสารอาหารประเภทต่างๆในดักแด้ไหม

สารอาหาร

สารที่ใช้ทดสอบ

ผลที่ได้

แป้ง

สารละลายไอโอดีน

ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

น้ำตาลกลูโคส

สารละลายเบเนดิกต์

 ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ไขมัน

ถูกับกระดาษ

กระดาษที่ถูโปร่งแสง

โปรตีน

สารละลายคอปเปอร์ซัลเฟตและสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์

 สีม่วง

 

สรุปการทดลอง

     จากการทดสอบหาสารอาหารในตัวดักแด้ไหมด้วยสารละลายคอปเปอร์ซัลเฟต  และสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์  มีการเปลี่ยนแปลงเป็นสีม่วงอย่างเห็นได้ชัด แสดงว่า ในตัวดักแด้ไหมมีสารอาหารประเภทโปรตีน  ทดสอบด้วยการถูกับกระดาษพบว่ากระดาษที่ถูกับดักแด้โปร่งแสงเล็กน้อย   แสดงว่าในตัวดักแด้ไหม มี สารอาหารประเภทไขมันอยู่เล็กน้อย      ส่วนการทดสอบหา  น้ำตาลและแป้งซึ่งเป็นสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต  ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย แสดงว่าในตัวดักแด้ไหมไม่มีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตอยู่

ข้อมูลอ้างอิงการศึกษา

ดักแด้ไหม
        ดักแด้ไหมเป็นสิ่งหนึ่งที่ได้จากการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม นอกจากการนำมาบริโภคโดยตรงแล้ว ยังสามารถนำไปเลี้ยงปลาและสัตว์อื่น ๆ ทั้งนี้เพราะดักแด้ไหมมีโปรตีนสูง มีวิตามินและเกลือแร่หลายชนิดไขมันที่สกัดได้ยังนำไปผสมเพื่อทำสบู่และเทียนไขที่มีคุณภาพสูง จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีและกรดไขมันของดักแด้ไหมพันธุ์ต่างประเทศลูกผสมพบว่า ไหมพันธุ์ต่างประเทศลูกผสมแต่ละพันธุ์ มีองค์ประกอบทางเคมีและกรดไขมันไม่แตกต่างกัน

 

 

จะเห็นได้ว่าดักแด้ไหมมีกรดไลโนเลอิคและกรดไลโนเลนิค ซึ่งกรดไขมันทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นกรดไขมันจำเป็นมีประโยชน์ต่อร่างกายคือ
- ลดไขมันในเลือด ทั้งไตรกรีเซอไรด์ และโคเลสเตอรอล
- ควบคุมให้ระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ
- ลดการเกิดโรคหัวใจ
- ลดการเกิดโรคมะเร็ง
- ป้องกันการสูญเสียน้ำ ต้านรอยย่น และชะลอความแก่ของผิวหนัง

           นอกจากนั้นดักแด้ไหมยังมีฟอสโฟลิปิด (phos – pholipid) ที่เป็นโครงสร้างของเยื่อเซลล์ทุกชนิด (เยื่อเซลล์สมอง เซลล์ประสาท เซลล์ตับ) จากการวิจัยพบว่าดักแด้มีฟอสโฟลิปิด 26.40% ที่ประหอบด้วยเลซิติน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกายคือ
- ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล
- ช่วยในการเสริมสร้างความจำ
- ป้องกันการเกิดนิ่วในถุงน้ำดี

การวิเคราะห์กรดอะมิโนจากดักแด้ไหมพันธุ์ต่างประเทศลูกผสม โดยใช้ดักแด้ไหมพันธุ์นครราชสีมาลูกผสม 1 อบที่อุณหภูมิ 75 องศาเซลเซียส นาน 6 ชั่วโมง บดดักแด้ให้ละเอียดนำไปวิเคราะห์กรดอะมิโนซึ่งเป็นองค์ประกอบของโปรตีน จากการวิเคราะห์พบว่า ดักแด้ไหมพันธุ์นครราชสีมาลูกผสม 1 มีกรดอะมีโน 18 ชนิด ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็นสำหรับผู้ใหญ่ 8 ชนิด คือ Threonine, Valine, Methionine, Isoleucine, Leucine, Phenylalanine, Lysin, Tryptophan และกรดอะมิโนจำเป็นสำหรับทารกเพิ่มอีก 1 ชนิดคือ Histidine ซึ่งกรดอะมิโนจำเป็นนี้ทั้งมนุษย์และสัตว์ไม่สามารถสังเคราะห์เองได้จำเป็นต้องบริโภคอาหารที่มีกรดอะมิโนจำเป็นถ้าร่างกายได้รับกรดอะมิโนจำเป็นไม่เพียงพอหรือไม่ครบทุกชนิด จะทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตเฉพาะทารกการย่อยและดูดซึมอาหารผิดปกติ มีอาการท้องเดิน บวมตามตัว โรคโลหิตจาง มีความผิดปกติของระบบประสาทและสมอง ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าดักแด้ไหมมีโปรตีนสูงและเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพเนื่องจากมีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน การนำดักแด้ไหมมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจ

การสกัดไขมันจากดักแด้ไหม จากการศึกษาชนิดตัวทำละลายน้ำมันจากดักแด้ไหมจำนวน 5 ชนิดคือ Hexane (AR grade), Hexane (Commercial), Diethyl ether, Phtroleum ether, Ethanol (absolute) กับดักแด้ของไหมพันธุ์เขียวสกล พันธุ์ไทยลูกผสมอุดรธานี ตัวทำละลายที่สามารถสกัดน้ำมันจากดักแด้ได้บริสุทธิ์ไม่มีสิ่งเจือปนคือ สาร Hexane (AR grade) ซึ่งสามารถสกัดน้ำมันจากดักแด้เพศเมีย พันธุ์เขียวสกลได้ประมาณ 22.78% น้ำมันจากดักแด้เพศผู้ ประมาณ 30.48% และสารสกัดน้ำมันจากพันธุ์ไทยลูกผสมอุดรธานีจากดักแด้เพศเมียประมาณ 19.77% น้ำมันจากดักแด้เพศผู้ ประมาณ 29.35% องค์ประกอบกรดไขมันในน้ำมันจากดักแด้ไหมประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid; SFA) มี Palmitic acid, Stearic acid กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acid; UFA) มี Palmitoleic acid, Oleic acid, Linoleic acid และ Linolenic acid

จากการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของไขมันและโปรตีนจากดักแด้ไหมของพันธุ์ไทยลูกผสมอุดรธานีซึ่งได้ทำการแยกวิเคราะห์ดักแด้ไหมอบแห้งและบดกับดักแด้ไหมที่ได้สกัดน้ำมันออกแล้ว โดยทำการสกัดน้ำมันด้วยตัวทำละลาย Hexane (AR grade) โดยที่ปริมาณของโปรตีนและฟอสโฟลิปิดของดักแด้ไหมที่สกัดน้ำมันออกแล้วจะมากกว่าดักแด้ไหมที่อบแห้งและบด จะมีปริมาณโปรตีนประมาณ 67.80% ฟอสโฟลิปิดประมาณ 30.36% องค์ประกอบของกรดไขมัน จะมีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์อยู่ 4 ชนิด คือ
Palmitoleic acid (C16:1)
มีปริมาณ 0.66 – 0.91%
Oleic acid (C18:1) มีปริมาณ 8 – 34%
Linoleic acid (C18:2) มีประมาณ 6 – 12% และ
Linolenic acid (C18:3) มีปริมาณ 28 – 33% จะมีปริมาณมากกว่ากรดไขมันชนิดอิ่มตัว ที่มีอยู่ คือ Palmitic acid (S16:0) มีปริมาณ 21 – 23% และ Stearic acid (C18:0)
มีปริมาณ 5 – 10%

 

ที่มาของข้อมูล:   www.moac.go.th

        ผู้ศึกษา  :   นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1

                                 โรงเรียนบ้านสำโรงพลัน  อำเภอไพรบึง  จังหวัดศรีสะเกษ

                                        สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3